SEAL IPPC

การประทับตรา IPPC

ippc

 

IPPC ปรับปรุงมาตรฐาน ISPM No.15 ใหม่แล้ว
เมื่อเดือนเมษายน 2552 ที่ประชุมคณะกรรมาธิการมาตรการสุขอนามัยพืชภายใต้อนุสัญญา IPPC มีมติยอมรับมาตรฐาน ISPM No.15 ฉบับปรับปรุง (การควบคุมวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ใช้สำหรับการค้าระหว่าง
ประเทศ) ซึ่งยังคงใช้เป็นมาตรฐานในการกำหนดมาตรการหรือกฏหมายภายในประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชที่อาจติดมากับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ (Wood Packaging Material) ที่ใช้ขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศ

ISPM No.15 ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552 มีประเด็นเพิ่มเติมจากฉบับเดิมที่ประกาศใช้ไปเมื่อปี 2547 ดังนี้

1. มาตรการสุขอนามัยพืชที่ใช้
ยังคงใช้ Heat treatment (HT) หรือ Methyl Bromide treatment(MB) ตามมาตรฐาน ISPM No.15 ฉบับเดิม แต่มาตรฐานฉบับปรับปรุงกำหนดค่าเปลือกไม้ที่ยอมให้มีได้ ในการนำไม้ลอกเปลือก (Debarked wood) มาประกอบเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ คือ ให้มีเปลือกได้กว้างไม่เกิน 3 ซม. (ไม่จำกัดความยาว) แต่หากกว้างเกิน 3 ซม. ต้องให้พื้นที่เปลือกน้อยกว่า 50 ตร.ซม.
การประกอบวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้จากไม้ลอกเปลือก
- หากใช้ Methyl Bromide treatment ต้องลอกเปลือกไม้ออกก่อน
- หากใช้ Heat treatment จะลอกเปลือกไม้ออกก่อนหรือหลังก็ได้

ถึงแม้ว่าการใช้ Methyl Bromide จะเป็น treatment ที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็ ควรตระหนักถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน ตามคำแนะนำของ IPPC เรื่อง Replacement or reduction of the use of methyl bromide as a phytosanitary measures (2008)

2. การประทับตรารับรอง
ยังคงใช้ตรารับรองเดิม (ตามรูป) แต่ไม่อนุญาตให้ใส่ข้อมูลอื่นภายในกรอบของตรารับรอง หรือดัดแปลงเครื่องหมาย IPPC ไม้กันกระแทก (dunnage) ต้องมีการ treat และประทับตรารับรอง ไม้ชิ้นเล็กๆที่ไม่มีการ treat และ ประทับตรารับรอง ไม่สามารถนำมาเป็นไม้กันกระแทกได้ ดังนั้น ไม้ชิ้นยาวที่จะนำมาใช้เป็นไม้กันกระแทก อาจประทับตรารับรองให้ถี่ขึ้น เพื่อเวลานำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ตรารับรองยังคงปรากฎให้เห็นได้

1244032302sasidiscom2

XX  = รหัสประเทศ
000 = รหัสผู้ผลิต
YY = รหัส treatment
ไม้กันกระแทก (dunnage) ต้องมีการ treat และประทับตรารับรอง ไม้ชิ้นเล็กๆที่ไม่มีการ treat และ ประทับตรารับรอง ไม่สามารถนำมาเป็นไม้กันกระแทกได้ ดังนั้น ไม้ชิ้นยาวที่จะนำมาใช้เป็นไม้กันกระแทก อาจประทับตรารับรองให้ถี่ขึ้น เพื่อเวลานำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ตรารับรองยังคงปรากฎให้เห็นได้
3. ข้อยกเว้นสำหรับไม้ที่ไม่ต้องใช้มาตรการสุขอนามัยพืช
- ถังเบียร์และถังเหล้าที่ได้รับความร้อนระหว่างการผลิต
- กล่องไวน์ของขวัญ กล่องซิการ์ และกล่องสินค้าอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยไม้ที่ผ่านกระบวนการ และผลิตด้วยวิธีที่ปลอดจากศัตรูพืช
- ไม้ที่เป็นองค์ประกอบถาวรในยานพาหนะที่ใช้ทางอากาศและ container ที่ใช้ขนส่งทางเรือ
4. การปฏิบัติต่อวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาใช้ใหม่ (reused) วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาซ่อมแซม (repaired) และวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำมาผลิตใหม่ (remanufactured)
4.1 วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาใช้ใหม่ (reused) หมายถึง วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ผ่านการ treat และประทับตรารับรองตามมาตรฐาน ISPM No.15 แล้ว แต่ไม่ได้นำมาซ่อมแซม ผลิตใหม่ หรือ ดัดแปลงจึงไม่ต้อง treat ใหม่ หรือประทับตรารับรองใหม่ตลอดอายุการใช้งาน
4.2 วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาซ่อมแซม (repaired)

Leave a Reply

Scroll to Top