Forbidden Tree

imagesCA0LYJRU ไม้บง imagesCAHGCCQU

ไม้หวงห้าม หมายความว่า ไม้ชนิดดีมีค่า จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้เสียก่อน ไม้ชนิดที่สำคัญ ๆ เช่น ไม้สัก แดง ประดู่ หลุมพอ มะค่าโมง เต็ง รัง ฯลฯ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้จะเข้าไปคัดเลือกและตีตราประจำต้น เพื่ออนุญาตให้ตัดได้ เมื่อตัดโค่นไม้ที่มีตราลงแล้วก็ใช้เลื่อยทอนต้นไม้ที่ล้มลงมานั้นเป็นท่อนๆ โดยปกติความยาวของไม้ที่ทอนออกเป็นท่อนนั้น จะต้องคำนึงถึงตลาดด้วย เช่น ในท้องที่ที่เป็นภูเขาสูงนำไม้ซุงออกมาได้ยาก ต้อทอนต้นไม้ให้เป็นท่อนสั้น ๆ เพื่อให้น้ำหนักของไม้แต่ละท่อนเบาลง ถ้าท้องที่ที่ทำไม้ออกเป็นที่ราบ อาจทอนไม้เป็นท่อนยาว ๆ ได้ ไม้ซุงที่นำออกมานั้น จะต้องพยายามทอนเอาเฉพาะส่วนที่ตรง และตัดส่วนที่เป็นง่ามหรือปุ่มตาออก เนื่องจากไม้ซุงที่ทำออกมาจากป่า ต้องการนำไปเลื่อยเป็นสำหรับปลูกบ้าน ดังนั้น ความยาวของไม้ซุงแต่ละท่อน จึงไม่ควรสั้นกว่าความยาวของห้องตามบ้านเรือนที่ปลูกกันทั่ว ๆ ไปคือ ไม่ควรสั้นกว่า ๔ เมตร เว้นแต่ว่าไม้ซุงที่ทำออกมานั้น จะนำไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่น เช่น ทำเครื่องเรือน ทำไม้อัดหรือต่อเรือ ก็จำเป็นต้องกำหนดความยาวของท่อนซุง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของงานที่จะใช้ไม้นั้น

สำหรับไม้ชนิดที่สำคัญๆ ซึ่งพนักงานได้ตรีตราประจำต้นให้ตัดฟันได้ เมื่อล้มลงและตัดทอนแล้ว จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่า ไม้ที่ล้มนั้นมีตราถูกต้องหรือไม่ ทอนไดเป็นกี่ท่อน เมื่อตรวจสอบถูต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะตีตราที่ท่อนซุงทุกท่อนไว้อีกครั้งหนึ่ง การตีตราตรวจสอบในครั้งนี้เรียกว่า "ตีตราชักลาก" เมื่อได้ผ่านวิธีการนี้แล้ว จึงจะชักลากไม้นั้นให้ห่างออกไปจากตอเดิมได้ ไม้ที่ล้มแล้วทอนไว้เป็นท่อนซุงนี้ ถ้าเป็นบริเวณที่มีภูเขาสูงชัน ผู้ทำไม้จะใช้ช้างหรือรถแทรกเตอร์ลากไม้ซุงนั้นมารวมไว้เป็นแห่ง ๆ ในที่ซึ่งรถยนต์หรือพาหนะอย่างอื่นจะเข้ามาบรรทุกไม้นั้นต่อไปได้ การใช้ช้างหรือรถแทรกเตอร์ลากไม้ซุง จากตอที่ตัดมารวมไว้เป็นแห่ง ๆ นี้เรียกว่า "ถอนตอ" ส่วนสถานที่ที่นำไม้ซุงมารวมไว้เป็นที่เดียวกันนั้น เรียกว่า "หมอนไม้" และการทำไม้ทั้งหมด ตั้งแต่โค่นล้มรวมถึงการชักลากมารวมกองเพื่อเพรียมไว้บรรทุกรถยนต์ภายในบริเวณป่า เรียกรวม ๆ กันว่า "การทำไม้ตอนป่า" การทำไม้ในที่ราบ อาจจะใช้รถยนต์ไปบรรทุกไม้จากตอที่เดียว โดยไม่ต้องถอนตอไปรวมกองไว้ก็ได้

ไม้หวงห้ามมีสองประเภท คือ
- ประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ได้แก่ไม้ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือได้รับสัมปทานตามความในพระราชบัญญัตินี้
- ประเภท ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ได้แก่ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวน ซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตในกรณีพิเศษ


ไม้หวงห้ามที่ทางการกำหนดไว้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-ไม้หวงห้ามประเภท ก. เป็นพันธุ์ไม้ที่ให้เนื้อไม้มีคุณภาพดี ซึ่งใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้นั้น ทางการจะยอมให้ตัดฟัน และชักลาก ออกมาทำสินค้าได้ ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน ได้กำหนดให้อยู่ในประเภทนี้มีจำนวนกว่า 250 ชนิด พร้อมทั้งกำหนดอัตราค่าภาคหลวงไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น

*ไม้มะค่าโมง เป็นไม้ผลัดใบ สูง 15-20 เมตร เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ดอกสีเขียว ผลเป็นฝักแบนหนาแห้งแข็ง ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณ
*ไม้ประดู่ เป็นไม้ผลัดใบ สูง 20-25 เมตร เนื้อไม้สีแดงคล้ำดอกสีเหลืองหอม ผลเป็นฝักแบนกลมมีครีบโดยรอบ ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณ
*อินทนิล เป็นไม้ผลัดใบ สูง 15-20 เมตร เปลือกสีน้ำตาล เป็นสะเก็ดร่อนออกบางๆ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน ชอบขึ้นในป่าดิบแล้ง ริมลำธาร
และอื่นๆ เช่น ตะแบกเปลือกหนา ตะแบกเปลือกบาง เสลา ตะเคียน สนทะเล เต็งหรือแงะ รังหรือเปา ยางกรวด ยางพลวง เป็นต้น

2. ไม้หวงห้ามประเภท 2 ได้แก่พันธ์ไม้บางชนิดที่ทางการได้พิจารณาเห็นว่าเป็นไม้ชนิดดีมีค่าหายาก ทางการจะห้ามมิให้ตัดฟันโค่นล้มเว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ พันธุ์ไม้ที่ใช้ยางนำมากลั่นเป็นน้ำมันหรือชัน คือสนเขา ทั้งสนสองใบ และสนสามใบ เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ต้นสูง 25-30 เมตร ใบรูปเข็ม พันธุ์ไม้ที่มีปริมาณน้อยและหายากได้แก่ พญาไม้ (ทั้ง สามชนิดคือ พญามะขามป้อมดง ขุนไม้ และพญาไม้) แปกลม ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง 20-25 เมตร ขึ้นตามป่าดิบเขา มะขามป้อมดง ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบสูง 0-25 เมตร ขึ้นตามป่าดิบ สามพันปี ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สูง 20-25 เมตร ใบเรียวเล็กปลายใบแหลม ขึ้นตามป่าดิบเขา ริมลำธาร และไม้อื่นๆ เช่นกฤษณา หอม กระตุก กระเบาใหญ่ มะพอก รักใหญ่ นอกจากไม้หวงห้ามทั้งสองประเภทที่ยกตัวอย่างมานี้แล้ว ยังมีไม้อยู่อีก 2 ชนิด ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ให้เป็นไม้หวงห้ามชนิดพิเศษ คือไม้สักและไม้ยางทุกชนิด

*ไม้สัก เป็นไม้ผลัดใบสูง 20-30 เมตร ดอกสีขาว เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ

*ไม้ยาง เป็นไม้ยืนต้น ไม้ผลัดใบ สูง 30-40 เมตร ดอกสีชมพู ผลกลมปลายแหลม เนื้อไม้สีน้ำตาลขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น ไม้ยางมีอยู่ด้วยกันมากชนิด ชนิดที่พบทั่วๆไป คือ ยางนา ยางพาย ยางแดง ยางมันหมู ยางเสียน

Leave a Reply

Scroll to Top