SEAL IPPC
การประทับตรา IPPC

ISPM No.15 ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2552 มีประเด็นเพิ่มเติมจากฉบับเดิมที่ประกาศใช้ไปเมื่อปี 2547 ดังนี้
1. มาตรการสุขอนามัยพืชที่ใช้
ยังคงใช้ Heat treatment (HT) หรือ Methyl Bromide treatment(MB) ตามมาตรฐาน ISPM No.15 ฉบับเดิม แต่มาตรฐานฉบับปรับปรุง?กำหนดค่าเปลือกไม้ที่ยอมให้มีได้ ในการนำไม้ลอกเปลือก (Debarked wood)?มาประกอบเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ คือ ให้มีเปลือกได้กว้างไม่เกิน 3 ซม. ?(ไม่จำกัดความยาว)?แต่หากกว้างเกิน 3 ซม. ต้องให้พื้นที่เปลือกน้อยกว่า 50 ตร.ซม.
การประกอบวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้จากไม้ลอกเปลือก
-หากใช้ Methyl Bromide treatment ต้องลอกเปลือกไม้ออกก่อน
-หากใช้ Heat treatment จะลอกเปลือกไม้ออกก่อนหรือหลังก็ได้
ถึงแม้ว่าการใช้ Methyl Bromide จะเป็น treatment ที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็?ควรตระหนักถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน ตามคำแนะนำของ?IPPC เรื่อง ?Replacement or reduction of the use of methyl bromide?as a phytosanitary measures (2008)?
2. การประทับตรารับรอง
ยังคงใช้ตรารับรองเดิม (ตามรูป) แต่ไม่อนุญาตให้ใส่ข้อมูลอื่นภายในกรอบของตรารับรอง หรือ?ดัดแปลงเครื่องหมาย IPPC?ไม้กันกระแทก (dunnage) ต้องมีการ treat และประทับตรารับรอง ไม้ชิ้นเล็กๆที่ไม่มีการ treat และ?ประทับตรารับรอง ไม่สามารถนำมาเป็นไม้กันกระแทกได้ ดังนั้น ไม้ชิ้นยาวที่จะนำมาใช้เป็นไม้กันกระแทก อาจประทับตรารับรองให้ถี่ขึ้น เพื่อเวลานำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ตรารับรองยังคงปรากฎให้เห็นได้
XX ? ? ? ? = รหัสประเทศ
000 ? ? ? = รหัสผู้ผลิต
YY ? ? ? ? = รหัส treatment
ไม้กันกระแทก (dunnage)?ต้องมีการ treat และประทับตรารับรอง ไม้ชิ้นเล็กๆที่ไม่มีการ treat และ?ประทับตรารับรอง ไม่สามารถนำมาเป็นไม้กันกระแทกได้ ดังนั้น ไม้ชิ้นยาวที่จะนำมาใช้เป็นไม้กันกระแทก อาจประทับตรารับรองให้ถี่ขึ้น เพื่อเวลานำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ตรารับรองยังคงปรากฎให้เห็นได้
3. ข้อยกเว้นสำหรับไม้ที่ไม่ต้องใช้มาตรการสุขอนามัยพืช
– ถังเบียร์และถังเหล้าที่ได้รับความร้อนระหว่างการผลิต
– กล่องไวน์ของขวัญ กล่องซิการ์ และกล่องสินค้าอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยไม้ที่ผ่านกระบวนการ และผลิตด้วยวิธีที่ปลอดจากศัตรูพืช
– ไม้ที่เป็นองค์ประกอบถาวรในยานพาหนะที่ใช้ทางอากาศและ container ที่ใช้ขนส่งทางเรือ
4. การปฏิบัติต่อวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาใช้ใหม่ (reused) วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาซ่อมแซม (repaired)และวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำมาผลิตใหม่ (remanufactured)
4.1 วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาใช้ใหม่ (reused) ?หมายถึง วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่ผ่านการ treat และประทับตรารับรองตามมาตรฐาน ISPM No.15 แล้ว แต่ไม่ได้นำมาซ่อมแซม ผลิตใหม่ หรือ ดัดแปลงจึงไม่ต้อง treat ใหม่ หรือประทับตรารับรองใหม่ตลอดอายุการใช้งาน
4.2 วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ที่นำมาซ่อมแซม (repaired)